08 กันยายน 2556

คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต

      ปัจจุบันอินเทร์เน็ตทำให้การติดต่อสื่อสารข้อมูลข่าวสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งเเน่นอนว่าเมื่ออินเทอร์เน็ตมีบทบาทเเละมีความสำคัญมากขึ้นเท่าใด อินเทอร์เน็ตย่อมส่งผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบต่อสังคม ดังนี้
    
        ผลกระทบทางบวก
       อินเทอร์เน็ตมีผลกระทบทางบวกต่อสังคม ดังนี้
       1. ทำให้มีความสะดวกในการติดต่อสื่อสารในเครือข่ายขนาดใหญ่ กล่าวคือ ทำให้คนในสังคมติดต่อสื่อสารได้ทุกสถานที่ ทุกเวลา
       2. ช่วยพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน เช่น การติดต่อสื่อสารผ่านอีเมลล์ การประชุมทางไกลผ่านเครือข่าย
       3. ช่วยพัฒนาคุณภาพการศึกษา ทำให้เกิดการศึกษารูปแบบใหม่ที่กระตุ้นความสนใจของผู้เรียนให้เกิดความสนุกในการเรียนรู้ อีกทั้งทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา ได้แก่ ระบบการเรียนทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต (e-learning)


      ผลกระทบทางลบ
     อินเทอร์เน็ตมีผลกระทบทางลบต่อสังคม ดังนี้
     1. ก่อให้เกิดความเครียดของคนในสังคม กล่าวคือ อินเทอร์เน็ตทำให้คนในสังคมเข้าถึงข้อมูลมากมายมหาศาล สภาพสังคมจึงเปลี่ยนเป็นสังคมฐานความรู้ หรือสังคมที่ใช้ความรู้ในการพัฒนาเศรษฐกิจเเละสังคม ดังนั้น จึงเกิดการเเข่งขันด้านเศรษฐกิจกันอย่างรุนเเรง ซึ่งการตัดสินใจในการทำงานต้องใช้ข้อมูลที่มีคุณภาพ เพื่อให้ตัดสินใจได้ถูกต้อง ทำให้คนในสังคมเกิดความกดดันเเละเกิดความเครียดสูง
     2. เกิดการเเลกเปลี่ยนวัฒนธรรมจากสังคมหนึ่งไปสู่อีกสังคมหนึ่ง ซึ่งอาจก่อให้เกิดค่านิยมที่ไม่พึ่งประสงค์ เช่น การเเต่งกายที่ไม่เหมาะสมของเยาวชน การติดเกมประเภทความรุนเเรง เป็นต้น
     3. เกิดช่องว่างระหว่างคนในสังคม เนื่องจากคนในสังคมใช้เวลาในการเล่นอินเทอร์เน็ตมากขึ้น ทำให้การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมลดลง จนเกิดคำพูดที่ว่า "เทคโนโลยีทำให้คนไกลใกล้กันมากขึ้น เเต่เทคโนโลยีก็ทำให้คนให้คนใกล้ไกลกันมากขึ้น" กล่าวคือ เครือข่ายอินเทอร์เน็ตทำให้คนที่อยู่ไกลสามารถสื่อสารได้เหมือนอยู่ใกล้กัน ในขณะที่ทำให้คนที่อยู่ใกล้กันเกิดความห่างไกลกันมากขึ้น เช่น คนในครอบครัวที่ต่างคนต่างคุยกับเพื่อนในอินเทอร์เน็ต จึงมีเวลาพูดคุยกับคนในครอบครัวลดลง
     4. เกิดการละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล เนื่องจากอินเทอร์เน็ตเป็นโลกเสรีที่ให้ผู้คนสามารถเเสดงความคิดเห็นร่วมกันได้ เเต่การเเสดงความคิดเห็นอย่างไร้ขอบเขต ย่อมส่งผลต่อการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล เช่น การนำข้อมูลส่วนบุคคลออกเผยเเพร่ต่อสาธารณะชน ซึ่งข้อมูลบางอย่างอาจไม่เป็นจริงหรือยังไม่ได้พิสูจน์ความถูกต้อง การเเสดงความคิดเห็นด้วยถ้อยคำที่รุนเเรงต่อบุคคลผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
     5. อาจก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ ผู้ไม่หวังดีอาจใช้อินเทอร์เน็ตในทางที่ผิด เช่น การล่อลวงผู้ที่ไม่ชอบด้วยกฏหมายในเเง่มุมต่างๆทั้งภาพลามกอนาจาร การพนันออนไลน์ การจำหน่ายของผิดกฏหมาย การส่งไวรัสไปทำลายข้อมูลของผู้อื่น เป็นต้น


06 กันยายน 2556

การใช้บริการต่างๆบนอินเทอร์เน็ต

       
        - ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออีเมล (Electronic mail หรือ e-mail)
เป็นบริการที่ได้รับความนิยมมาก เนื่องจากผู้ใช้งานสามารถรับส่งข้อความเพื่อติดต่อเเลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร กับบุคคลอื่นๆ ได้อย่างรวดเร็วกว่าการใช้บริการระบบไปรษณีย์แบบดั้งเดิม นอกจากนี้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ยังสามารถส่งข้อมูลในรูปแบบอื่นๆ นอกเหนือจากตัวอักษรได้อีกด้วยเช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น เเนบไปอีกด้วย
           การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ต้องมีการระบุที่อยู่ของผู้รับ ซึ่งในการส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ผู้ส่งเเละผู้รับจะต้องมีที่อยู่ เรียกว่า ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์แอดเดรส (e-mail Address)
           สำหรับรูปแบบของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์แอดเดรสจะประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ชื่อผู้ใช้ เเละ ชื่อเครื่องบริการ โดยใช้เครื่องหมาย @ (ออกเสียงว่า แอ็ท) คั่นระหว่างทั้งสองส่วนนี้
           เมื่อผู้ใช้ส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เเล้ว ไปรษณีย์จะถูกเก็บไว้ที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์หรือเซิร์ฟเวอร์ (mail server) จนกระทั่งผู้รับมาเปิดอ่าน
                  1. เว็บเมล (Web Mail) เป็นบริการการรับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ผ่านโปรมแกรมเว็บบราวเซอร์ โดยใช้สามารถสมัครลงทะเบียนในเว็ปไซต์ที่เปิดให้บริการได้ จากนั้นผู้ใช้จะได้รับไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์แอดเดรสและรหัสผ่าน เพื่อขอเข้าใช้บริการผ่านเว็ปไซต์ดังกล่าว ซึ่งเว็บเมลส่วนใหญ่จะให้โดยบริการที่ผู้ใช้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ
                  2. พ๊อปเมล (Pop mail) เป็นบริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์โดยใช้โปรแกรมจัดการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งโปรแกรมจัดการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์จะติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่รับ-ส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ โปรมแกรมพ็อปเมลที่นิยม เช่น Microsoft outlook , Window Mail , Netscape Mail เป็นต้น
  

          - การโอนย้ายแฟ้มข้อมูล (File Transfer Protocal : FTP)
เป็นการโอนย้ายแฟ้มข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง ซึ่งอาจจะอยูใกล้หรือไกลกัน ในการโอนย้ายแฟ้มข้อมูล เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้กำลังทำงานอยู่และมีการเรียกใช้โปรแกรมสำหรับโอนย้ายแฟ้มข้อมูล เรียกว่า เครื่องต้นทาง (local host) ซึ่งทำหน้าที่เป็นเครื่องลูกข่าย ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำการติดต่อไปเพื่อโอนย้ายแฟ้มข้อมูลนั้นเรียกว่า เครื่องปลายทาง (remote host) โดยทำหน้าที่เป็นเครื่องเเม่ข่าย ซึ่งผู้ใช้งานโปรแกรมที่เครื่องต้นทางจะต้องระบุชื่อเครื่องหรือหมายเลขไอพีของเครื่องปลายทางที่ต้องการใช้บริการ
               การโอนย้ายแฟ้มข้อมูล มีการทำงาน 2 ลักษณะ คือ
               1. get เป็นการโอนย้ายแฟ้มข้อมูลจากเครื่องปลายทางมายังเครื่องต้นทาง (download)
               2. put เป็นการย้ายแฟ้มข้อมูลจากเครื่องต้นทางไปยังเครื่องปลายทาง (upload)
               การบริการโอนย้ายแฟ้มข้อมูล มี 2 ลักษณะ ได้แก่
               1. การโอนย้ายข้อมูลด้วยโปรแกรมโอนย้ายข้อมูล ทั้งที่เป็นเเบบเเจกฟรี (freeware) และเเบบให้ทดลองใช้ก่อน (shareware) เช่น WS_FTP  CuteFTP เป็นต้น
               2. โอนย้ายแฟ้มข้อมูลผ่าน Web Browser
            การเเลกเปลี่ยนข่าวสารเเละความคิดเห็น (internet forum) เป็นบริการเเลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร การอภิปรายเเละเเสดงความคิดเห็นร่วมกันของผู้คนในสังคมผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งเเนวโน้มล่าสุดของการใช้อินเทอร์เน็ต คือ ใช้เป็นเเหล่งพบปะสังสรรค์เพื่อสร้างเครือข่ายสังคม (social network) เทคโนโลยีการเเลกเปลี่ยนข่าวสารมีหลากหลายรูปแบบ เช่น ยูสเน็ต (usenet) บล็อก (blog) เป็นต้น
              1. ยูสเน็ต (usenet) เป็นบริการในลักษณะกลุ่มสนทนาที่เเลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยผู้ใช้ต้องสมัครเข้าเป็นสมาชิก (subscibe) กลุ่มหัวข้อใดที่ตนเองสนใจ เเละเมื่อเป็นสมาชิกแล้วก็จะสามารถเรียกดูข้อมูลข่าวสารต่างๆที่อยู่ในกลุ่มหัวข้อนั้นได้และยังสามารถขอความคิดเห็น หรือร่วมเเสดงความคิดเห็น สอบถามปัญหา หรือตอบปัญหา ของผู้อื่นที่ถามในกลุ่มหัวข้อนั้นๆได้ สำหรับยูสเน็ตในเว็ปไซต์ต่างๆ ได้มีการจัดแบ่งเป็นกลุ่มหัวข้อต่างๆ เช่น กลุ่มการเมือง กลุ่มดนตรี กลุ่มเทคนิคด้านคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ซึ่งหากผู้ใช้ไม่ต้องการอ่านข่าวสารในกลุ่มหัวข้อนั้นอีก ก็สามารถยกเลิกการเป็นสมาชิก (unsubscibe) ของกลุ่มหัวข้อนั้นได้
              2. บล็อก (blog) ย่อมาจากคำว่า เว็บบล็อก (webblog) เป็นเว็ปไซต์ที่ใช้เขียนบันทึกเรื่องราว โดยเรียงลำดับตามเวลา เพื่อสื่อสารความรู้สึก มุมมอง ประสบการณ์ ความรู้ เเละข่าวสาร โดยจะเเสดงข้อมูลที่เขียนล่าสุดไว้ส่วนบนสุดของเว็ปไซต์หรือบางครั้งอาจเรียกว่า ไดอารีออนไลน์ (diary online) ข้อมูลหรือความเห็นที่ถูกนำเสนอในบล็อก อาจจัดทำโดยบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่เป็นเจ้าของบล็อก หรือบุคคลที่มีความสนใจร่วมกัน หรือมีความเชี่ยวชาญเฉพาะเหมือนกัน จนเกิดชุมชนในบล็อกขึ้น ซึ่งผู้ใช้คนอื่นๆ สามารถเข้ามาเเสดงความคิดเห็นร่วมกันได้ และสามารถอ่านเรื่องราวที่เกิดขึ้นตามลำดับเวลาได้ โดยข้อมูลหรือความคิดเห็นนำเสนอในรูปของข้อความ ภาพหรือมัลติมีเดีย ทั้งนี้ผู้เขียน (blogger) ต้องพึงระวังการเขียนข้อความในลักษณะหมิ่นประมาทยั่วยุให้ผู้อื่นกระทำผิดกฏหมาย ซึ่งอาจมีความผิดตามพ.ร.บ. ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ได้ ปัจจุบันบล็อกที่นิยมใช้ในประเทศมีหลายเว็บไซต์ เช่น Facebook, Wikipedia, Youtube เป็นต้น


         - การสนทนาผ่านอินเทอร์เน็ต
          การสนทนาผ่านอินเทอร์เน็ตมี 2 รูปเเบบ ดังนี้
          1. การสนทนาเป็นกลุ่ม เป็นการสนทนาโดนคู่สนทนาจะพิมพ์ข้อความไปยังเครื่องเซิร์ฟเวอร์ จากนั้นเครื่องเซิร์ฟเวอร์จะส่งข้อความเเสดงบนหน้าจอของคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่ร่วมสนทนา ซึ่งผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับชื่อผู้ใช้เเละรหัสผ่านเข้าสู่ระบบ โดยส่วนใหญ่เว็บไซต์จะเเบ่งห้องสนทนา (chat room) เป็นกลุ่มหัวข้อต่างๆ ให้ผู้ใช้ได้เลือกใช้บริการตามความสนใจ
          2. การสนทนาระหว่างผู้ใช้โดยตรง เป็นการสนทนาโดยมีเซิร์ฟเวอร์บอกตำแหน่งของโปรแกรมสนทนา (instant messaging) ของคู่สนทนา ทำให้ผู้ใช้สามารถสนทนากับผู้ใช้อื่นๆได้โดยตรง การสนทนาทำได้ทั้งการพิมพ์ข้อความ การส่งกราฟิก เสียง และภาพเคลื่อนไหว นอกจากนี้โปรแกรมยังมีฟังก์ชันเเละลูกเล่นต่างๆ ที่เป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้โปรแกรมการสนทนาที่นิยใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ Yahoo Messenger, Google Talk, Net Messenger Service,Jabber, ICQ เเละ Skype

        - บริการค้นหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต
           เว็บไซต์ที่มีเครื่องมือหรือโปรแกรมการค้นหา (search engine) เป็นเว็บไซต์ที่สามารถให้ผู้ใช้หาข้อมูลโดยการระบุคำสำคัญ เพื่อค้นหาข้อมูลด้วยโปรแกรมการค้นหา ซึ่งข้อมูลจะครอบคลุมทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เพลง ซอฟต์แวร์ แผนที่ เเละอื่นๆ โปรแกรมการค้นหาจะค้นหาข้อมูลจากคำสำคัญ (keywords) ที่ผู้ใช้ป้อนเข้าไปเเละจะแสดงรายการผลลัพธ์ที่ตรงหรือใกล้เคียงกับคำสำคัญที่สุด ตัวอย่างเว็บไซต์ เช่น www.google.com, www.sanook.com, www.bing.com เป็นต้น

05 กันยายน 2556

การเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต

             การเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตที่นิยมใช้สำหรับผู้ใช้งานทั่วไปหรือหน่วยงานขนาดเล็กจะใช้การเชื่อมต่อเเบบหมุนโทรศัพท์ (Dial-Up Connection) ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อเเบบชั่วคราวหรือเฉพาะบางเวลา ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งสิ่งที่จำเป็นในการเชื่อมต่อ มีดังนี้
          1. เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นอุปกรณืสำหรับใช้ในการส่งเเบะรับข้อมูล
          2. เว็บบราวเซอร์ เป็นโปรมแกรมที่ใช้ในการดึงดูดข้อมูลมาจากเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งจัดเก็บอยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า HTML (HyperText Markup Language) เเละแปลความหมายของรูปแบบข้อมูล ที่ได้กำหนดไว้เพื่อนำเสนอแก่ผู้ใช้
          3. หมายเลขโทรศัพท์และสายโทรศัพท์ สำหรับเป็นสื่อกลางในการส่งข้อมูลข่าวสาร โดยผู้ใช้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพียง 3 บาทต่อครั้งของการเชื่อมต่อ
          4. โมเด็ม เป็นอุปกรณ์สำหรับดัดแปลงสัญญาณข้อมูลของคอมพิวเตอร์ซึ่งอยู่ในรูปแบบดิจิทัล (Digital) ให้เป็นสัญญาณข้อมูลรูปแบบแอนะล็อก (Analog) และเมื่อเป็นผู้ส่งจะแปลงสัญญาณข้อมูลรูปแบบแอนะล็อกเป็นดิจิตอล
          5. บริการชุดอินเทอร์เน็ตจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ใช้บริการสามารถเลือกขอเป็นสมาชิกเป็นรายเดือน รายปี หรืออาจเป็นการซื้อชุดอินเทอร์เน็ตเเบบสำเร็จรูปโดยคิดค่าใช้บริการเป็นหน่วยชั่วโมง บริษัทที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย เช่น ทีโอที กสท โทรนาคม ทีทีแอนด์ที ล็อกอินโฟ เป็นต้น
                 การเชื่อมต่อเเบบหมุนโทรศัพทืมีข้อดี คือ สะดวกเเละมีค่าใช้จ่ายต่ำ เเต่มีข้อจำกัดด้านความเร็ว เเละการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตอาจหลุดได้หากมีสัญญาณรบกวนภายในสายโทรศัพท์

การทำงานของอินเทอร์เน็ต

       
    เครือข่ายอินเทอร์เน็ตสามารถทำให้คอมพิวเตอร์ต่างชนิดหรือต่างขนาดกัน ที่เชื่อมต่อภายในเครือข่ายสามารถสื่อสารกันได้นั้นจะต้องมีมาตรฐานการรับส่งข้อมูลระหว่างกันเป็นแบบเดียวกันหรือใช้กฏและข้อตกลงเดียวกัน ซึ่งก็คือ โพรโทคอล (Protocol) ในการควบคุมรูปแบบข้อมูลเเละการส่งผ่านข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ โพรโทคอลที่ใช้ในอินเทอร์เน็ต เรียกว่า อินเทอร์เน็ตโพรโทคอล (Internet Protocol) หรือมีชื่อย่อว่าไอพี (IP)
       
        หมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบอินเทอร์เน็ต เรียกว่า หมายเลขไอพี (IP Adress) ซึ่งเป็นหมายเลขชุดหนึ่งมีขนาด 32 บิต หมายเลขชุดนี้จะถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 8 บิตเท่าๆกัน ซึ่งเเต่ละส่วนมีค่าได้ตั้งเเต่ 0-255 เช่น 205.42.117.104 โดยหมายเลขไอพีของเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องไม่ซ้ำกัน เเละเนื่องจากหมายเลขไอพีจดจำได้ยาก ถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากอยู่ในเครือข่าย ก็จะทำให้สับสนได้ง่าย จึงเกิดการตั้งชื่อที่เป็นตัวอักษรขึ้นมาเเทนหมายเลขไอพี เพื่อช่วยในการจดจำ เรียกว่า ดีเอ็นเอส (DNS : Domain Name Server) ซึ่งประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ ชื่อ และโดเมน
    - โดเมน
          โดเมนมีมาตราฐานใช้ร่วมกันสำหรับหน่วยงานและประเทศต่างๆ ดังนี้
               1.โดเมนระดับบนสุด (Top-Level Domain Name) จะบอกถึงประเภทขององค์กร หรือชื่อประเทศที่เครือข่ายตั้งอยู่
               ทั้งนี้ในระดับบนสุดที่บ่งบอกประเทศที่เครือข่ายตั้งอยู่นั้น จะต้องมีโดเมนระดับย่อย เพื่อระบุประเภทขององค์กร
               2.โดเมนระดับย่อย ใช้ในประเทศ ซึ่งจะบอกถึงประเภทขององค์กร

03 กันยายน 2556

ความหมายเเละพัฒนาการของอินเตอร์เน็ต

ความหมายของอินเตอร์เน็ต
          อินเตอร์เน็ต (Internet : Interconnection Network) หมายถึง เครือข่ายของเครือข่ายซึ่งก็คือ การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย ทำให้เกิดเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่โยงใยกันทั่วโลก โดยเครือข่ายดังกล่าวจะต้องมีมาตรฐานการรับส่งข้อมูลระหว่างกันเป็นแบบเดียวกัน แม้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อภายในเครือข่ายดังกล่าวอาจจะต่างชนิดหรือต่างขนาดกัน ก็สามารถสื่อสารกันได้ และคอมพิวเตอร์เเต่ละเครื่องภายในเครือข่ายสามารถรับเเละส่งข้อมูลในรูปแบบต่างๆได้หลายรูปแบบ เช่น ตัวอักษร ภาพกราฟิค ภาพเครื่องไหว เสียง เป็นต้น
 

พัฒนาการของอินเตอร์เน็ต
        1. อินเตอร์เน็ตในต่างประเทศ ปี ค.ศ. 1969 หน่วยงานโครงการวิจัยชั้นสูง (Advanced Research Projects Agency : ARPA) ของกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้สนับสนุนงานวิจัยเทคโนโลยีเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยในช่วงเเรกรู้จักกันในนามของ เครือข่ายสำนักงานโครงการวิจัยชั้นสูง หรืออาร์พาเน็ต (Apanet) ซึ่งมีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ระหว่างสถาบันการศึกษา 4 แห่ง ได้แก่ มหาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลอสแองเจลิส มหาวิทยาลัยยูทาห์ มหาวิทยาลัยเเคลิฟอร์เนียที่ซานตาบาร์บารา เเละสถาบันวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยสเเตนฟอร์ด โดยมีคอมพิวเตอร์หลากหลายชนิดที่เชื่อมต่อกันในเครือข่ายเเละมีระบบปฏิบัติการที่เเตกต่างกันเเต่สามารถสื่อสารข้อมูลกันได้

       2.อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2530 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เเละสถาบันเทคโนโลยีเเห่งเอเชีย (AIT) ได้เชื่อมต่อเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยเเละสถาบันไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย โดยเป็นการเชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ซึ่งส่งข้อมูลได้ช้าเเละเป็นการเชื่อมต่อเเบบชั่วคราว
  ปีพ.ศ. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกสส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับมหาวิทยาลัย 5 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เเละมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เกิดเป็นเครือข่ายที่เรียกว่า เครือข่ายไทยสาร โดยสำนักวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9600 บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่บริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี ประเทศสหรัฐอเมริกา
  ปีพ.ศ. 2536 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กกทรอนิกส์เเละคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 64 กิโลบิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทย ทำให้เครือข่ายมีความสามรถในการส่งข้อมูลได้เร็วขึ้น ซึ่งมีหน่วยงานอื่นเชื่อมเข้ากับเครือข่ายไทยสารอีกหลายแห่ง เครือข่ายไทยสารจึงมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
  ปีพ.ศ. 2537 การสื่อสารแห่งประเทศไทยได้ร่วมมือกับบริษัทเอกชน เปิดบริการอินเทอร์เน็ตให้แก่บุคคล ในรูปแบบของบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ เรียกว่าผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider : ISP) ที่ทำหน้าที่ให้บริการเชื่อมต่อสายสัญญาณจากแหล่งต่างๆของผู้ให้บริการ เช่น จากที่บ้าน สำนักงาน สถานบริการ เเละแหล่งอื่นๆ เพื่อเชื่อมต่อกับระบบใหญ่ออกไปนอกประเทศได้